คำถาม
|
คำตอบ
|
1.
หากคณะใดมีประกาศค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการอบรม/ประชุม/สัมมนา
ให้ยึดตามประกาศของคณะใช่หรือไม่ในการคิดค่าใช้จ่ายโครงการ
(ประกาศดังกล่าวได้เสนอผ่านมหาวิทยาลัย)
|
1.สามารถใช้ได้ หากประกาศค่าใช้จ่ายฉบับนั้นลงนามออกประกาศโดยมหาวิทยาลัย
|
2.
การเปลี่ยนแปลงงบประมาณค่าใช้จ่ายถ้าอ่านจากแนวปฏิบัติใหม่แสดงว่าถ้ารายรับเท่าเดิม
แต่ค่าใช้จ่ายไม่ตรงตามประมาณการไว้
ไม่ต้องทำเรื่องเปลี่ยนแปลงค่าใช้จ่ายใช่หรือไม่
|
2.ใช่
แต่ในขั้นตอนการเบิกจ่ายจะต้องจัดทำงบประมาณตามที่จ่ายจริงและคิดคำนวณค่าธรรมเนียมบริการตามประกาศ หากค่าธรรมเนียมบริการไม่ถึง 15 % หรือมากกว่าการจัดสรรค่าธรรมเนียมให้มหาวิทยาลัยและวิทยาเขตยังคงคิดจากค่าธรรมเนียมบริการ
15 % เช่นเดิม
|
3.
กรณีมีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบและวิธีปฏิบัติสามารถปรึกษาใครได้บ้าง
|
3.สามารถปรึกษาผ่าน groupmail : psu-academic@group.psu.ac.thได้ หรือโทรศัพท์ได้ที่ 074-282243-4
|
4.
หน่วยงานราชการอื่น ๆ ขอให้ดำเนินการจัดอบรมให้บุคลากร โดยมีโครงการ มีงบประมาณแล้ว และให้ส่งเอกสารเบิกค่าใช้จ่ายจากหน่วยงานนั้น ๆ เมื่อส่งเอกสารไปเบิกจะมีข้อจำกัดในเรื่องค่าธรรมเนียมบริการวิชาการ ตามระเบียบมหาวิทยาลัยว่าด้วยการให้บริการ พ.ศ.2551 ที่หน่วยงานภายนอกไม่สามารถนำใบเสร็จค่าธรรมเนียมฯไปเป็นค่าใช้จ่ายได้
(ผิดต่อระเบียบ) จะมีวิธีแก้ไขอย่างไร
|
4.รายละเอียดจากคำถามเสมือนว่าหน่วยงานร้องขอ
ให้ดำเนินการจัดอบรม
แต่ก่อนการดำเนินงานยังไม่มีข้อตกลงกันเกี่ยวกับค่าบริการที่มหาวิทยาลัยดำเนินการจัดอบรมให้ ดังนั้นการแก้ปัญหาก็คือ
เมื่อมีหน่วยงานภายนอกร้องขอให้มหาวิทยาลัยดำเนินการจัดอบรมหรือร้องขอให้ดำเนินการบริการประเภทใดประเภทหนึ่งโดยหน่วยงานที่ร้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด
แต่ไม่ได้ให้เงินมาเป็นก้อนให้นำหลักฐานไปเบิกจ่ายตามที่จ่ายจริง
หรือให้เงินมาเหลือจ่ายต้องคืนทำนองนี้ ดังนั้นก่อนรับงานจะต้องมีข้อตกลงระหว่างกันก่อนว่าในการดำเนินงานครั้งนี้มหาวิทยาลัยจะคิดค่าบริการดำเนินการจำนวน...............บาท
(โดยเป็นค่าใช้จ่ายแล้วแต่ลักษณะงาน เช่น ค่าโทรศัพท์ประสานงาน ค่าปฏิบัติงานนอกเวลาเจ้าหน้าที่ ค่าเช่าสถานที่ อุปกรณ์ฯลฯ) หากตกลง
มหาวิทยาลัย(คณะ/หน่วยงานที่รับงาน) ก็ขออนุมัติดำเนินการกิจกรรมนั้นตามขั้นตอน
พร้อมประมาณการค่าใช้จ่ายตามระเบียบฯ
ยกตัวอย่าง
รายรับค่าบริการ 3,000 บาท
ค่าใช้จ่าย 2,609 บาท
-
ค่าปฏิบัติงานนอกเวลา......
-
ค่า..................
ค่าธรรมเนียมบริการ 15 % 391 บาท
รวม 3,000 บาท
หากหน่วยงานร้องขอไม่ตกลงมหาวิทยาลัยก็ไม่ควรดำเนินการให้ ด้วยเหตุผลในการประสานงานและดำเนินการมหาวิทยาลัยจะต้องมีค่าใช้จ่าย เช่น
ค่าโทรศัพท์ ค่าเวลาของบุคลากร ฯลฯ ยกเว้นกิจกรรมที่ให้ดำเนินการเป็นกิจกรรมความร่วมมือในการ
ช่วยเหลือผู้ประสบภัย หรือกิจกรรมเฉพาะกิจที่มหาวิทยาลัยพิจารณาเห็นชอบ
|
5.
แนวปฏิบัติการบริหารโครงการบริการวิชาการ
มอ 066/ว 247 วันที่ 14 ธค.48 ที่ยกเลิก สำหรับค่าตอบแทนวิทยากรที่กำหนดไว้ในบันทึกนั้น
(ไม่ใช่ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงานและ
การประชุมระหว่างประเทศ
ลงวันที่ 2 ตค 2549 ตาม กค 0409.6/ว 95 ใช่หรือไม่) |
5.
อัตราค่าตอบแทนวิทยากรตามแนวปฏิบัติตามหนังสือดังกล่าว เป็นอัตราที่มหาวิทยาลัยกำหนดเอง
|
6.
ปัจจุบันกลุ่มงานให้บริการวิชาการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำ ซึ่งเงินรายได้จากการวิเคราะห์
เข้าวิทยาเขตทั้งหมด สำหรับผู้วิเคราะห์จะเบิกค่าตอบแทนเป็นค่าปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ถ้าจะหัก % รายได้จากการวิเคราะห์ให้ผู้วิเคราะห์เป็นค่าตอบแทนจะต้องทำอย่างไรบ้าง และสัดส่วนเป็นอย่างไร
|
6.
เบิกค่าตอบแทนไม่ได้
เนื่องจากการปฏิบัติงานนั้นเป็นภาระหน้าที่ความรับผิดชอบโดยตรง |
7.
การจ้าง มหาวิทยาลัยในงานบริการวิชาการ การดำเนินงานครอบคลุมถึงไหน
|
7.
การจ้างในงานบริการวิชาการครอบคลุมตาม TOR /ข้อเสนอโครงการ/ตามสัญญาที่มีการลงนาม
|
8.
อัตราค่าจ้างคิดอย่างไร
|
8. คิดตามระเบียบฯ ว่าด้วยการให้บริการทางวิชาการ พ.ศ.2551
|
9.
มีรูปแบบการดำเนินการจ้างหรือไม่ อย่างไร
|
9. คำถามไม่ชัดเจน แต่การจ้างทุกอย่างจะต้องเป็นไปตามระเบียบพัสดุ
|
10.
หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามระเบียบฯ
พ.ศ.2551 และแนวปฏิบัติสามารถสอบถามปัญหาได้ที่ไหนและจะได้คำตอบจากทางใด
|
10.สอบถามผ่าน groupmail : psu-academic@group.psu.ac.th ได้ หรือโทรศัพท์ได้ที่ 074-282243-4
|
11. การตั้งค่าตอบแทนที่ปรึกษา
(กรณีโครงการเป็นที่ปรึกษาอย่างเดียว) การตั้ง
ค่าตอบแทนสามารถตั้งได้มากกว่า 70% ตามระเบียบฯ นั้น จำนวนที่มากกว่า
70% คือสามารถมากกว่าได้เท่าไหร่ ขอบเขตกำหนดไว้หรือไม่ว่ามากกว่า
70%เป็นเท่าไหร่ ?
|
11.มหาวิทยาลัยไม่กำหนดแต่ให้อยู่ในดุลยพินิจของหน่วยงาน แต่ต้องตั้งค่าธรรมเนียมบริการให้เป็นไปตามระเบียบฯ |
12. การเก็บค่าใช้จ่ายอื่น ๆ (VAT) ตามระเบียบฯ ข้อที่ 9.4 นั้น
เงินส่วนนี้จะเก็บ
ไว้ที่ไหน หากไม่ต้องจ่ายหรือเก็บไว้เกิน 20 ปี แล้วจะนำมาจัดสรรอย่างไร
ต่อไป
|
12.มหาวิทยาลัยอยู่ระหว่างการพิจารณา ผลพิจารณาเป็นอย่างไรจะแจ้งให้ทราบผ่านทาง groupmail :psu-academic@group.psu.ac.th
|
13. งานบริการวิชาการ 7 ประเภท ตามระเบียบ ข้อ 6 มหาวิทยาลัยต้องเป็น
คู่สัญญาในกลุ่มใดบ้าง |
13.ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มที่ 4 กลุ่มที่ 3 จะมีบ้าง
|
14. กรณีค่าดำเนินการเหลือจ่าย โดยไม่มีสำรองจ่าย ข้อ 9.2
สามารถถัวเฉลี่ยใน
รายการย่อย 9.2.1-9.2.5 ระหว่างหมวดได้หรือไม |
14. ได้
|
15.กรณีการหักค่าประกันผลงาน
มีความขัดแย้งกับระเบียบข้อ 21 หรือไม่?
|
15. ไม่ขัดแย้งกับข้อ
21 เนื่องจากข้อ 21
ตั้งขึ้นมาเพื่อควบคุมคุณภาพผลงานของมหาวิทยาลัยเองซึ่งมหาวิทยาลัยมอบหมายการควบคุมคุณภาพให้อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าหน่วยงานบริหารโครงการ แต่สำหรับหักค่าประกันผลงาน เป็นของผู้ว่าจ้างที่หักไว้เพื่อประกันผลงานที่เขาได้รับว่าตรงกับข้อตกลงตามสัญญาหรือไม |
16. กรณีงานที่ดำเนินการมาก่อน
กระทบกับระเบียบใหม่หรือไม่
|
16.ไม่กระทบ กิจกรรมใดได้รับอนุมัติให้ดำเนินการตามระเบียบฯ พ.ศ.2536 สามารถดำเนินการตามระเบียบฯนั้นจนสิ้นสุดโครงการ ซึ่งระเบียบฯใหม่ระบุไว้ชัดเจนใน ข้อ 23
|
17. ในกรณีที่มีการรับเงินในนามของคณะ/หน่วยงานสามารถดำเนินการได้หรือไม่
|
17. ได้เช่นค่าลงทะเบียนอบรม
สามารถรับเงินและออกใบเสร็จในนามของคณะ/หน่วยงานได้
และนำส่งเงินค่าลงทะเบียนทั้งหมดต่อกองคลัง ซึ่งกองคลังก็จะออกใบเสร็จรับเงินให้แก่คณะ/หน่วยงานอีกครั้งไว้เป็นหลักฐาน แต่สำหรับเงินค่าจ้างที่มหาวิทยาลัยเป็นคู่สัญญา การจ่ายเงินของผู้ว่าจ้างจะต้องจ่ายเงินให้ในนามมหาวิทยาลัยเท่านั้น
|
18.
ถ้าเงินเข้าในนามของมหาวิทยาลัย ใครจะเป็นผู้ออกใบเสร็จ
|
18. มหาวิทยาลัยโดยกองคลัง
|
19.
ถ้าเป็นลักษณะวิเคราะห์ ทดสอบ จะต้องจ่ายเงินที่กองคลังด้วยหรือไม่ ใคร
เป็นคนออกใบเสร็จ
และต้องมีการนำส่งเงินให้กับมหาวิทยาลัยหรือไม่
อย่างไร
|
19. การให้บริการตามลักษณะการให้บริการกลุ่มที่
1 มหาวิทยาลัยให้เป็นอำนาจของหัวหน้าหน่วยงาน ใบเสร็จการรับเงินเป็นของหน่วยงานได้
แต่จะต้องนำส่งเงินให้มหาวิทยาลัยตามระเบียบเงินรายได้
|
20.
กรณีใดที่จะต้องจ่ายเป็นการจ่ายเงินในนามมหาวิทยาลัยเท่านั้น จะจ่ายใน
นามคณะฯ ไม่ได้
|
20.
โครงการที่มหาวิทยาลัยเป็นคู่สัญญาทุกโครงการ สำหรับการจัดอบรม ประชุม สัมมนา
การเก็บเงินค่าลงทะเบียนออกใบเสร็จของหน่วยงานและจัดส่งเงินให้กองคลังเพื่อดำเนินการตามระเบียบฯ
|
22.
การหักเงินค่าประกันผลงาน หักอย่างไร
|
22.
ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้หักเงินค่าประกันผลงาน ทั้งนี้จะหักได้ก็ต่อเมื่อระบุไว้ในสัญญาจ้าง |
23.
ระเบียบฯ พ.ศ.2551 จะต้องตั้งสำรองจ่ายอีกไหม
|
23.
ระเบียบฯ พ.ศ.2551 การตั้งสำรองจ่ายจะตั้งหรือไม่ตั้งก็ได้ให้อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าโครงการ ว่าโครงการมีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด
|
24. ระเบียบฯ พ.ศ.2551 คำนวณค่าธรรมเนียมบริการ
15 % จากอะไร
|
24. คำนวณค่าธรรมเนียมบริการ 15 % จากค่าใช้จ่ายตามระเบียบฯข้อ
9.1 และ 9.2
|
25. เงินรายได้จากการให้บริการวิชาการส่งเงินเข้ามหาวิทยาลัยเป็นเงินรับฝากหรือเงินรายได้
|
25. เงินรายได้
|
26. การจัดสรรค่าธรรมเนียมบริการให้หน่วยงานที่มีบุคลากรเข้าร่วมเป็นคณะทำงานจัดสรร
ให้จากเงินส่วนใด
|
26. จัดสรรให้จากอัตราค่าธรรมเนียมบริการที่หน่วยงานบริหารโครงการได้รับ
11 % โดยจัดสรรตามอัตราค่าตอบแทนของคณะทำงาน
ของแต่ละหน่วยงานที่เข้าร่วม
|
27.
ตามที่รองอธิการบดีวิทยาเขตได้รับมอบอำนาจให้สามารถอนุมัติโครงการบริการวิชาการ ตามระเบียบฯ
พ.ศ. 2536 ได้ตามคำสั่งมหาวิทยาลัยที่ 2309/2549 เมื่อมีการประกาศใช้ ระเบียบฯ พ.ศ.
2551 คำสั่งมอบอำนาจยังสามารถใช้ได้หรือไม |
27. สามารถใช้ได้จนกว่าจะมีคำสั่งมอบอำนาจใหม่(มหาวิทยาลัยมีคำสั่งมอบอำนาจใหม่แล้ว วข.สุราษฏร์ คำสั่งมหาวิทยาลัยที่ 2122/2551 ลว.31 ตค.51 สำหรับวข. ปัตตานี ตรัง ภูเก็ต
คำสั่งมหาวิทยาลัยที่ 2545/2551 ลว.24 ธค.51 แต่คำสั่งนี้ยังมีข้อความผิดอยู่ งานนิติการ
กองการเจ้าหน้าที่ได้แก้ไขแล้วตามคำสั่งมหาวิทยาลัยที่
0049/2552 ลว.12 มค.52)
|
28. ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามระเบียบฯ
เป็นเงินที่ต้องเรียกเก็บจากผู้ว่าจ้างด้วยใช่หรือไม่
|
28.
ใช่ แต่ทั้งนี้การจัดเก็บค่าใช้จ่ายอื่น
ๆ ให้อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าหน่วยงาน ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ไม่สามารถนำไปถัวเฉลี่ยจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายของโครงการได้
|