รายงานผลการประเมินคุณภาพภายใน ประจำปีการศึกษา 2549

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

วันที่ 18-19 ธันวาคม 2550

 

กรรมการประเมินคุณภาพภายใน

1.1      ศาสตราจารย์    สงวนสิน  รัตนเลิศ            ประธาน

1.2      รองศาสตราจารย์  สงวน  ลือเกียรติบัณฑิต  รองประธาน

1.3      นาย  ประทีป     วัฒนาศรีโรจน์                 ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก

1.4      รองศาสตราจารย์ วันดี   สุทธรังษี             กรรมการ

1.5      ผู้ช่วยศาสตราจารย์  ประวิตร   โสภโณดร    กรรมการ

1.6      ผู้ช่วยศาสตราจารย์  สมพิศ  คินทรักษ์        กรรมการ

1.7      ผู้ช่วยศาสตราจารย์  นิสิตา   บำรุงวงศ์        กรรมการ

1.8      นางสาว  อารีย์   คณาวิวัฒน์ไชย               กรรมการ

1.9      นาง  อรทัย   บุญมี                                 เลขานุการ

มาตรฐานที่ 3  มาตรฐานด้านการบริการวิชาการ

คณะมีแผนงานด้านการบริการวิชาการที่ครอบคลุมการประชาสัมพันธ์ การปรับปรุงระบบงานและทิศทางของงานบริการวิชาการ    โดยลักษณะงานบริการวิชาการของคณะประกอบด้วย การวิเคราะห์ ตรวจสอบและตรวจซ่อม บริการเครื่องมือ และอุปกรณ์ทางการศึกษา การจัดฝึกอบรมการให้บริการปรึกษาทางออกแบบระบบสร้างงานประดิษฐ์และผลิต มีศูนย์วิศวกรรมพลังงานเป็นหน่วยงานอิสระ เพื่อเป็นที่ปรึกษาและตรวจสอบด้านการอนุรักษ์พลังงาน และให้บริการวิชาการด้านพลังงาน

ผลการดำเนินงานด้านบริการวิชาการในปีการศึกษา 2549 สามารถดำเนินกิจกรรม/โครงการบริการวิชาการและวิชาชีพฯ ได้ถึง 67 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 1,325 ต่อจำนวนอาจารย์ประจำ ลดลงจากปีการศึกษา 2548 ร้อยละ 2.14 มีอาจารย์ที่ปรึกษา เป็นกรรมการวิทยานิพนธ์ภายนอกสถาบัน เป็นกรรมการวิชาการและวิชาชีพในระดับชาติและนานาชาติ รวมทั้งหมดจำนวน 79 คนคิดเป็นร้อยละ 46.75 เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2548 ร้อยละ 83.72 มีการนำความรู้และประสบการณ์จากการบริการวิชาการและวิชาชีพมาใช้ในการเรียนการสอนจำนวน 17 โครงการ  การนำความรู้และประสบการณ์จากการบริการวิชาการและวิชาชีพมาใช้ในการวิจัยจำนวน 8 โครงการ และมีโครงการวิชาการที่บูรณาการการจัดการเรียนการสอนหรือการวิจัยกับการบริการวิชาการ มีจำนวน 1 โครงการ โดยคณะฯ ได้สนับสนุนค่าใช้จ่ายและคิดเป็นมูลค่าของสถาบันในการให้บริการวิชาการ จำนวน 1,203,710 บาท ลดลงจากปีการศึกษา 2548 เล็กน้อย ประมาณร้อยละ 5.32 ผู้รับบริการมีความพึงพอใจโดยภาพรวมร้อยละ 83.57 ลดลงจากปีการศึกษา 2548 ประมาณร้อยละ 3.84 มีแหล่งให้บริการวิชาการและวิชาชีพที่ได้รับการยอมรับในระดับชาติหรือระดับนานาชาติจำนวน 6 แหล่ง และมีรายรับสุทธิในการให้บริการวิชาการและวิชาชีพจำนวน 6,700,314.72 บาท คิดเป็น 44,081.02 บาทต่อจำนวนอาจารย์ประจำ ลดลงจากปีการศึกษา 2548 ร้อยละ 4.87

จุดเด่น     

1.       มีหน่วยงานฝ่ายบริการวิชาการที่รับผิดชอบงานเฉพาะ  คุณภาพงานที่เป็นที่ยอมรับของผู้รับบริการโดยเฉพาะงานของศูนย์วิศวกรรมพลังงานและสถานวิจัยและพัฒนาพลังงานทดแทนจากน้ำมันปาล์มและพืชน้ำมัน  ซึ่งเป็นผู้นำด้านนี้ของประเทศ

จุดที่ควรพัฒนา

1.       การเชื่อมโยงองค์ความรู้ระหว่างการเรียนการสอน การวิจัยกับการบริการวิชาการ  ที่ดำเนินการไปบ้างแล้ว  สมควรยกระดับการดำเนินการให้เป็นระบบชัดเจนที่ครอบคลุมการให้บริการวิชาการทั้งคณะ  สอดคล้องกับพันธกิจของคณะข้อ 3

2.       เพิ่มการค้นหาแหล่งทุนเพื่อให้คณะสามารถให้บริการวิชาการแบบให้เปล่า   ตามทิศทางของคณะโดยไม่ส่งผลกระทบต่องบประมาณของคณะ

3.       เพื่อตอบสนองต่อทิศทางการลดลงของงานบริการวิชาการในบางกิจกรรม เช่น การวิเคราะห์น้ำ   ด้วยมีคู่แข่งในตลาดเพิ่มขึ้น    ทีมงานควรกำหนดบทบาทและคุณค่าต่อสังคมของการบริการวิชาการของคณะให้ชัดเจน  เพื่อให้สามารถกำหนดเป้าประสงค์การบริการ    กลุ่มผู้รับบริการ    กิจกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการได้เหมาะสม   รวมทั้งกำหนดแผนประชาสัมพันธ์   การพัฒนาบุคลากรและองค์ความรู้ในคณะ    เพื่อให้สามารถดำเนินงานตามพันธกิจของคณะที่กำหนดไว้

4.       ตามที่คณะได้จัดตั้งศูนย์วิศวกรรมพลังงาน เพื่อภารกิจเป็นที่ปรึกษาและตรวจสอบด้านการอนุรักษ์พลังงาน และให้บริการวิชาการด้านพลังงาน  ขณะนี้ทางศูนย์ฯ ได้ดำเนินการมาระยะหนึ่ง สมควรทบทวนบทบาทและโครงสร้างที่เอื้อให้ศูนย์สามารถประสานงานและทำงานได้เต็มตามศักยภาพ